พันธกิจ / เป้าหมาย
|
พันธกิจ
๑. ส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีคุณธรรม จริยธรรม เรียนรู้อยู่อย่างไทย มีมารยาทไทยและค่านิยมที่พึงประสงค์
๒. ส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ
๓. ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี รักษ์ความเป็นไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดำรงชีวิตอย่างพอเพียงและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กรักการอ่าน และใช้ภาษาสื่อสาร
๕. ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กใช้ทักษะการคิด และใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
๖. พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม ประหยัด พอเพียง มีเหตุผล มีศักยภาพ สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
๗. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๘. พัฒนาหลักสูตรบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญให้มีประสิทธิภาพ เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียน และของชาติ
๙. ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและใช้สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกอาคารให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ
๑๐. จัดระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๑๑. ส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
๑๒. ส่งเสริมอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น
๑๓. จัดโครงการ งาน กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
สำนึกดีตามวิถีไทย
(สะอาด ซื่อสัตย์ เคร่งครัดวินัย ใฝ่เรียนใฝ่รู้ เชิดชูพอเพียง)
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง
(ส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย ใส่ใจผลสัมฤทธิ์ พัฒนาทักษะชีวิตด้วยสิ่งแวดล้อม)
เป้าประสงค์
๑. ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
๒. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นครูมืออาชีพและการทำวิจัยในชั้นเรียน
๔. มีระบบการประกันคุณภาพภายในโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๑. ใช้หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SCHOOL BESED MANAGEMENT)
๒. ใช้เทคนิค ในการพัฒนางานทุกครั้ง
๓. ใช้หลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ( Good Goverment)
๔. เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย คณะกรรมการ และผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมกิจกรรม
๕. มีกระบวนการนิเทศภายใน ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามสภาพจริง
๖. สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
|